ก่อนที่เราจะพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อเวย์โปรตีนแบบที่ใช่ ที่เหมาะสมสำหรับคุณ เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า เวย์โปรตีนคืออะไรและมีที่มาจากไหน?
เวย์โปรตีนคืออะไรและผลิตอย่างไร?
หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่า เวย์โปรตีนนั้นขึ้นชื่อได้ว่าเป็น “แหล่งโปรตีนคุณภาพสูง” ที่สกัดมาจากนมวัว ทั้งยังเป็นแหล่งของกรดอะมิโนครบถ้วนและมีโปรตีนในปริมาณสูงที่มีประโยชน์จำเป็นต่อร่างกาย
เวย์โปรตีนที่นิยมรับประทานและขายตามท้องตลาดมีด้วยกัน 2 ชนิดหลัก ๆ คือ “เวย์โปรตีนไอโซเลต (WPI)” และ “เวย์โปรตีนคอนเซนเทรต (WPC)”
โดยเวย์โปรตีนทั้ง 2 ชนิดนี้ ต่างก็มีจุดเริ่มต้นมาจากการสกัดเอานมวัวที่ได้มาตรฐานเหมือน ๆ กัน โดยจะนำนมวัวมาผ่านกระบวนการกรอง เพื่อแยกเอาไขมันและคาร์โบไฮเดรตออกไป คงเหลือไว้แต่โปรตีนเข้มข้น และมีการแต่งกลิ่น สี และรสชาติ เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น
และจุดสำคัญหลักที่ทำให้เวย์ทั้ง 2 ชนิดนี้แตกต่างกันก็คือ เวย์โปรตีนไอโซเลตจะผ่านขั้นตอนกรองพิเศษ กรองไขมัน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาลแลคโตสออก รวมถึงทำให้อนุภาคของโปรตีนมีขนาดเล็กลง มีความเข้มข้นของโปรตีนสูงขึ้น จึงช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมโปรตีนได้ดีกว่าเวย์โปรตีนคอนเซนเทรต นั่นเอง
ที่มาและขั้นตอนการผลิตเวย์โปรตีน
ในการทำผงเวย์โปรตีน ขั้นแรก เวย์ต้องถูกนำมาแยกออกจากเคซีน ทำได้โดยการเพิ่มเติมเอ็นไซม์ลงในนมอุ่น ทำให้เคซีนในนมจับตัวเป็นก้อนและแข็งตัวขึ้นมีลักษณะคล้ายชีส เมื่อเวย์เหลวแยกจากชีสแล้ว จะผ่านกระบวนการกรองเพื่อดึงไขมันและแลคโตสส่วนใหญ่ออกมา
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเวย์โปรตีน
โดยเวย์คอนเซนเทรต (WPC) จะมีความบริสุทธิ์และปริมาณของโปรตีนอยู่ที่ 70-80% ส่วนประกอบที่เหลืออยู่จะเป็นพวก ไขมัน และน้ำตาลแลคโตส เต็มไปด้วยกรดอะมิโนครบทั้ง 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นอีก 9 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้
ส่วนเวย์ไอโซเลต (WPI) คือการนำเวย์คอนเซนเทรต มาผ่านกระบวนการกรองพิเศษขึ้นอีกขั้น เพื่อสกัดไขมันและแลคโตสออกไปอีกให้มีปริมาณน้อยลงหรือแทบไม่มีเลย และเพื่อให้มีปริมาณโปรตีนบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นถึง 90+%
ขณะที่ยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนครบถ้วน และกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เวย์ไอโซเลต จึงจัดได้ว่า เป็นเวย์โปรตีนที่มีคุณภาพค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
เนื่องจากไม่ทำให้ท้องอืด โดยเฉพาะคนที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากนมวัวหรือย่อยแลคโตสไม่ได้ เพราะมีปริมาณน้ำตาลและไขมันน้อยกว่านั่นเอง
จากนั้น เวย์ของเหลวที่กรองแล้วเหล่านี้จะถูกระเหยและทำให้แห้งจนกลายเป็นผงโปรตีนบริสุทธิ์ ที่มีรสชาติเป็นกลาง ประกอบด้วยสารประกอบโปรตีนเกือบทั้งหมด อุดมไปด้วยสารอาหารและมีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด 9 ชนิด
ซึ่งมีความสามารถในการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนจากกล้ามเนื้อและปกป้องกล้ามเนื้อจากการสลาย รวมทั้งมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของเรา
เปรียบเทียบเวย์โปรตีนคอนเซนเทรต (WPC) และเวย์โปรตีนไอโซเลต (WPI)
ปริมาณโปรตีนเข้มข้น
ทั้งเวย์โปรตีนคอนเซนเทรตและเวย์โปรตีนไอโซเลต ต่างก็อุดมไปด้วยกรดอะมิโน และมีปริมาณโปรตีนเข้มข้นค่อนข้างสูง
แต่เวย์โปรตีนไอโซเลตนั้น ผ่านกระบวนการกรองพิเศษอีกขั้นที่สกัดแยกเอาโปรตีนออกจากไขมันและแลคโตสได้สูงกว่า จึงมีปริมาณโปรตีนที่เข้มข้นสูงกว่าถึง 90% ในขณะที่เวย์คอนเซนเทรตมีปริมาณโปรตีน 70-80%
ปริมาณน้ำตาลแลคโตส
เนื่องจากเวย์โปรตีนไอโซเลตได้ผ่านกระบวนการกรองแบบพิเศษเพิ่มเติม จึงมีไขมัน คาร์โบไฮเดรต และแลคโตสในปริมาณที่น้อยกว่าเวย์โปรตีนคอนเซนเทรต
สำหรับผู้ที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากนมวัว หรือร่างกายย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ เวย์ไอโซเลตจึงถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากมีปริมาณแลคโตสที่น้อยกว่า จึงช่วยไม่ให้ท้องอืดจากการบริโภคเวย์โปรตีนนั่นเอง
การย่อยและการดูดซึม
เวย์โปรตีนทั้งคอนเซนเทรตและไอโซเลต ต่างก็เป็นโปรตีนอนุภาคเล็กที่ร่างกายสามารถดูดซึมและย่อยนำไปใช้ได้ง่าย แต่ด้วยความที่เวย์โปรตีนไอโซเลตผ่านการคัดกรองให้อนุภาคของโปรตีนเล็กลงและมีปริมาณไขมันและน้ำตาลแลคโตสอยู่ค่อนข้างน้อย จึงทำให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วกว่าเวย์โปรตีนคอนเซนเทรต ที่ย่อยยากสำหรับคนที่แพ้น้ำตาลแลคโตส
รสชาติ
เวย์โปรตีนทั้งคอนเซนเทรตและไอโซเลต ต่างก็มีรสชาติใกล้เคียงกัน มีลักษณะเป็นผงสีครีมอ่อน และมีกลิ่นรสตามธรรมชาติแบบนม แล้วแต่ผู้ผลิตจะปรุงแต่งกลิ่น สีหรือรสชาติเพิ่มเติมลงไป เพื่อให้รับประทานง่ายขึ้น
ราคา
เวย์โปรตีนทั้ง 2 ชนิดมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อทั่วไปตามท้องตลาด แต่เนื่องจากเวย์โปรตีนไอโซเลตมีขั้นตอนพิเศษในการผลิต มีการสกัดเอาแลคโตสออกไปให้เหลือน้อยที่สุดและยังมีปริมาณโปรตีนที่สูงขึ้น จึงทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าเวย์โปรตีนคอนเซนเทรต แต่จุดเด่นคือจะได้ปริมาณโปรตีนที่มากกว่านั่นเอง
สุดท้ายนี้ ถ้าพิจารณาแล้วพบว่า "เวย์โปรตีนไอโซเลต" ช่วยตอบโจทย์ของคุณได้ และกำลังมองหายี่ห้อดี ๆ ที่จะโดนใจคุณแล้วละก็ ลองให้ Quadplex เป็นหนึ่งในตัวเลือกดูนะครับ