ต้องดูแลตัวเองยังไงเมื่อรอบตัวเรามีแต่มลพิษ
ในแต่ละวันเราต้องเผชิญกับสารพิษต่างๆ มากมาย ทั้งในอากาศ ควัน ไอเสีย หรือกระทั่งในอาหาร ใครจะไปรู้ว่าอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้อาจมีสารปนเปื้อนอยู่ก็ได้
เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมความพร้อม เราไปดูกันสิว่าสารปนเปื้อนชนิดใดบ้างที่มักปนเปื้อนเข้าร่างกายเราทุกวัน!
มลพิษทางอากาศอันตรายอย่างไร
มลพิษทางอากาศ คือ อากาศที่มีสิ่งสกปรกหรือสารพิษเจือปนอยู่ในอากาศเกินค่ามาตรฐาน จนทำให้คุณภาพอากาศอยู่ในขั้นวิกฤต มีรูปแบบเป็นไอหมอกพิษ เช่น PM10, PM2.5 รวมถึงก๊าซโอโซน โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากครัวเรือน การทำอุตสหกรรม รวมถึงไฟป่า
หมอกพิษที่ปกคลุมหลายเมืองในโลกรวมถึงในประเทศไทยของเรา เป็นไอน้ำที่ปะปนไปด้วยสารอันตรายในรูปแบบของแข็งโมเลกุลขนาดเล็กและไอก๊าซจากการเผาไหม้ เช่น
ส่งผลต่อร่างกายทันที
สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเมื่อร่างกายสัมผัสกับอากาศที่ปนเปื้อนด้วยมลพิษที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดอาการ
- ไอ จาม
- ระคายเคืองดวงตา
- วิงเวียน คลื่นไส้
- ปวดหัว
- แน่นหน้าอก หายใจไม่ทั่วท้อง
ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
แม้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่เมื่อสูดดมอากาศพิษเป็นเวลานานก็ส่งผลต่อร่างกายเช่นกัน เนื่องจากโมเลกุลของฝุ่นมีขนาดเล็กอย่าง PM2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เพราะมีขนาดเล็กมากจนขนจมูกไม่สามารถดักจับละอองเหล่านี้ ทำให้เกิดโรคยอดฮิตได้แก่
- โรคหลอดเลือดในสมอง
- โรคหัวใจ
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- โรคมะเร็งปอด
- โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนต้น
ภาวะร่างกายขาดออกซิเจน ภัยร้ายที่ห้ามมองข้าม
ผู้ที่มีสุขภาพดีพร้อมกับปอดที่แข็งแรงเมื่อวัดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ควรจะมีระดับออกซิเจนในเลือด 80-100 มม.ปรอท หรือ 95-100% ไม่ควรต่ำหรือสูงมากไปกว่านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็จะบ่งบอกถึงสัญญาณผิดปกติของระดับออกซิเจนในเลือดที่ไม่สมดุล
ระดับออกซิเจนในร่างกายคืออะไร ?
ผู้ที่มีสุขภาพดีพร้อมกับปอดที่แข็งแรงเมื่อวัดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ควรจะมีระดับออกซิเจนในเลือด 80-100 มม.ปรอท หรือ 95-100% ไม่ควรต่ำหรือสูงมากไปกว่านี้
ระดับออกซิเจนในเลือดเป็นการวัดระดับฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนซึ่งจะช่วยบอกว่าเม็ดเลือดแดงขนส่งออกซิเจนไปให้ร่างกายเพียงพอหรือไม่ และรักษาความสมดุลของเลือดให้พร้อมไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงระบบอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย เมื่อใดที่คุณมีอาการผิดปกติ เช่น อาการหายใจถี่หรือเจ็บหน้าอก เวียนหัวเรื้อรัง เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย อย่างไม่ทราบสาเหตุ อาจจะต้องติดตามระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยการตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ ซึ่งสามารถช่วยคัดกรองโรครุนแรง เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ได้ก่อนโรคเหล่านี้จะกำเริบรุนแรง พร้อมกับการติดตามหลังการรักษาได้เช่นกัน
ผลดีต่อร่างกายเมื่อมีระดับออกซิเจนที่สมดุล
ระวังและสังเกต !! ระดับออกซิเจนในร่างกายที่ขาดความสมดุล
ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxemia)
คือ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนน้อยกว่าปกติ คือการมีระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% โดยหากระดับออกซิเจนในร่างกายมีค่าต่ำกว่าระหว่าง 90% มีแนวโน้มที่อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน โรคที่เกี่ยวกับปอดหรือโรคระบบทางเดินหายใจ
ระดับโลหะหนักปนเปื้อนในร่างกาย
หากร่างกายเกิดการสะสมโลหะหนักไม่ว่าจะมาจากอาหารเครื่องดื่ม การสูดดม หรือสัมผัส ที่จะทำให้ร่างกายได้รับโลหะหนักในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพ จนทำให้การทำงานของระบบส่วนต่างๆ ในร่างกายผิดปกติ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิตในการจับออกซิเจน การดูดซึมสารอาหาร และภาพรวมของสุขภาพแย่ลงจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
สาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
แนวทางการดูแลรักษาระดับออกซิเจนในร่างกายให้สมดุลเพื่อสุขภาพ
เพิ่มออกซิเจนในเลือด เพิ่มประสิทธภาพการหายใจ
การเพิ่มออกซิเจนในเลือดช่วยป้องกันภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ เมื่อร่างกายมีออกซิเจนที่เพียงพอ จะส่งผลดีด้านสุขภาพ ออกซิเจนช่วยรักษาอัตราการเผาผลาญช่วยในระบบย่อยอาหารเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน ช่วยเพิ่มพลังให้สมอง ช่วยในเรื่องการดูดซึมสารอาหารในร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณสดใส
รวมไปถึงช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติและช่วยรักษาพลังงานในร่างกายด้วย จะเห็นได้ว่า เมื่อร่างกายของเรามีออกซิเจนที่เพียงพอส่งผลดีในด้านต่างๆ การเพิ่มออกซิเจนในร่างกายทำได้หลายวิธี อย่างเช่น การออกกำลังกาย การสูดหายใจเข้าเต็มปอด การดื่มน้ำ รวมไปถึงการทานอาหารที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนได้เช่นกัน
ภาวะการปนเปื้อนในอาหาร คืออะไร
สารปนเปื้อนในอาหาร (Contaminants) คือสารที่ปนเปื้อนมากับอาหาร โดยอาจมาจากกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการผลิต โรงงาน การดูแลรักษา การบรรจุ ตลอดจนการขนส่งและการเก็บรักษา หรือเกิดจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นคือผู้ผลิตบางแห่งมีการนำสารเคมีผสมในอาหาร ซึ่งสารเคมีบางอย่างนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย บางชนิดหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้
สารเคมีที่พบปนเปื้อนได้บ่อย ได้แก่
1. สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร
คุณสมบัติของสาร สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกรเป็นสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (Beta-agonist) เช่น ซาลบลูทามอล (Salbutamol), เคลนบิวเทอรอล (Clenbuterol) ซึ่งปกติใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืดในคนและสัตว์เท่านั้น แต่มีการลักลอบนำมาใช้ผสมอาหารเลี้ยงสุกร เพื่อเพิ่มเนื้อแดงและลดไขมันตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ทำให้เกิดการตกค้างของสารนี้ในเนื้อสุกร
ความเป็นพิษ ถ้าบริโภคสารนี้เข้าไปจะทำให้เกิดอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศรีษะ หัวใจเต้นเร็ว เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการทางประสาท มีผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ
2. สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค
คุณสมบัติของสาร สารกันรา หรือ กรดซาลิซิลิค เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดห้ามนำมาใช้เจือปนในอาหาร แต่มีผู้ผลิตอาหารบางรายนำมาใส่เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง พริกแกง หรือน้ำดองผัก ผลไม้ เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้น และช่วยให้น้ำดองผัก ผลไม้ดูใสเหมือนใหม่อยู่เสมอ
ความเป็นพิษ ถ้าร่างกายได้รับเข้าไปจะไปทำลายเซลในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและหากได้รับเข้าไปมาก ๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ ถ้าได้รับกรดซาลิซิคจนมีความเข้มข้นในเลือดถึง 25-35 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตรจะมีอาการอาเจียน หูอื้อ มีไข้ ความดันโลหิตต่ำจนช็อค และอาจถึงตายได้
3. สารฟอกขาว
คุณสมบัติของสาร สารฟอกขาวเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาล เมื่ออาหารนั้นถูกความร้อนในกระบวนการผลิต หรือถูกหั่น/ตัด แล้ววางทิ้งไว้ และยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ รา บักเตรี สารเคมีดังกล่าวที่นิยมใช้เป็นสารกลุ่มซัลไฟต์ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมซัลไฟด์ โซเดียมหรือโปแตสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียมหรือโปแตสเซียมแมตาไบซัลไฟต์ ซึ่งจะได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ใช้ได้ในอาหารทุกชนิด คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือ โซเดียมไดไทโอไนต์ เป็นสารเคมีที่ใช้ในการฟอกแหวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก แต่มีผู้ลักลอบนำมาใช้ฟอกขาวในอาหาร สารนี้มีคุณสมบัติในการสลายตัวได้เร็วเมื่อทิ้งไว้จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารกลุ่มซัลไฟต์
ความเป็นพิษ ถ้าร่างกายได้รับสารฟอกขาวแล้วกระบวนการในร่างกายจะเปลี่ยนสารไปอยู่ในรูปของซัลเฟตและขับออกได้ทางปัสสาวะ แต่ถ้าได้รับสารฟอกขาวกลุ่มโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือกลุ่มซัลไฟต์เกินกำหนด สารฟอกขาวจะไปทำลายไวตามินบี 1 ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง ในรายที่แพ้อาจเกิดลมพิษ ช็อค หมดสติ และเสียชีวิตได้โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืด
4. สารบอแรกซ์
คุณสมบัติของสาร สารบอแรกซ์หรือที่มีชื่อทางการค้าว่า น้ำประสานทอง ผงกรอบ ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก ผงกันบูด และเพ่งแซ เป็นสารเคมีที่เป็นเกลือของสารประกอบโบรอน มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมบอเรต (Sodium borate) โซเดียมเตตราบอเรต (Sodium tetraborate) มีลักษณะไม่มีกลิ่น เป็นผลึก ละเอียด หรือผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ละลายในแอลกอฮอล์ 95% มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายแก่ร่างกายและห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด
แต่เนื่องจากบอแรกซ์มีคุณสมบัติทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อน กับสารประกอบอินทรีย์โพลีไฮดรอกซี (Organic polyhydroxy compound) เกิดลักษณะหยุ่น กรอบ และเป็นวัตถุกันเสียได้ จึงมีการลักลอบนำสารบอแร็กซ์ผสมลงในอาหารหลายชนิด เช่น หมูบด ปลาบด ลูกชิ้น ทอดมัน ไส้กรอก ผงวุ้น แป้งกรุบ ทับทิมกรอบ มะม่วงดอง ผักกาดดอง เป็นต้น เพื่อให้อาหารเหล่านั้น มีลักษณะหยุ่น กรอบ แข็ง คงตัวอยู่ได้นาน นอกจากนี้ ยังมีการนำผงบอแร๊กซ์ไปละลายในน้ำ แล้วทาหรือชุบลงในเนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสดตลอดเวลา อีกทั้งยังมีการใช้ปลอมปนในผงชูรส เนื่องจากบอแร็กซ์มีลักษณะภายนอกเป็นผลึกคล้ายคลึงกับผลึกผงชูรส
ความเป็นพิษ ถ้าบริโภคเข้าไปในร่างกายจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด สำไส้และกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง อุจจาระร่วง และเป็นพิษต่อตับ ไต และสมองได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณสารที่ได้รับ
5. สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์
คุณสมบัติของสารฟอร์มาลิน มักใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองศพ ประกอบด้วย แก๊สฟอร์มาลดีไฮด์ ประมาณร้อยละ 37-40 ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลินเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติกสิ่งทอเพื่อใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นหรือยับ ใช้ป้องกันการขึ้นราในการเก็บรักษาข้าวสาลี ข้าวโอ๊ตหลังจากเก็บเกี่ยว และใช้เพื่อป้องกันแมลงในพวกธัญญาพืชหลังการเก็บเกี่ยว
ฟอร์มาลินเป็นอันตรายและห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด แต่ปัจจุบันยังมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียได้ง่าย จึงมีการนำมาใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น อาหารทะเลสด เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ผักสดชนิดต่างๆ เป็นต้น
ความเป็นพิษ ถ้าร่างกายได้รับสารฟอร์มาลินจากการบริโภคอาหารที่มีสารดังกล่าวตกค้าง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร และหากสัมผัสอยู่เป็นประจำ จะทำให้เกิดการสะสมจนทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ และสารฟอร์มาลินยังเป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิตได้ด้วย
6. ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
คุณสมบัติของสาร ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ วัตถุมีพิษที่นำมาใช้เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช สัตว์ และมนุษย์ ทั้งในการเกษตร อุตสาหกรรม และสาธารณสุข ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ได้บางชนิด แต่ต้องทิ้งระยะให้สารหมดความเป็นพิษก่อนการเก็บเกี่ยว
ความเป็นพิษ เมื่อได้รับสารฆ่าแมลงเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดปฏิกริยาทางเคมีกับเอนไซม์ในร่างกาย มีผลให้เกิดการขัดขวางการทำหน้าที่ตามปกติของระบบประสาททั้งในคนและสัตว์ ความเป็นพิษขึ้นกับคุณสมบัติของสารเคมีแต่ละชนิด วิธีการได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณความถี่ สุขภาพของผู้ได้รับสารพิษและก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดศรีษะ มึนงง หายใจลำบาก แน่นในอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน กล้าวเนื้อโดยเฉพาะที่ลิ้นและหนังตากระตุก ชัก หมดสติ
อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ โบโลญญา
นั้นมักจะใส่ไนไตรท์ลงไปเพื่อทำหน้าที่เป็นสารกันเสีย และทำให้สีของอาหารเป็นสีแดงอมชมพูสวยน่ากิน แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก
ช่วยได้แค่รู้จัก คลอโรฟิลล์
คลอโรฟิลล์ประกอบไปด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังมีข้อมูลสนับสนุนว่าสารเหล่านี้อาจมีส่วนช่วยชะลอหรือยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง โดยจากการศึกษาในสัตว์พบว่า
คลอโรฟิลล์อาจช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งในอวัยวะหลายส่วน อย่างตับและกระเพาะอาหาร
ขณะเดียวกันการทดลองอีกชิ้นที่ศึกษาคุณสมบัติต้านมะเร็งตับอ่อนในหนูพบว่า คลอโรฟิลล์ในพืชสีเขียว อาจช่วยปรับสมดุลของสารอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งภาวะสมดุลระหว่างสารอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระอาจป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้
นอกจากนี้ ผักใบเขียวที่อุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ยังเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังรักษาตัว ซึ่งสารชนิดนี้อาจช่วยให้แผลบริเวณผิวหนังจากการรักษาด้วยวิธีการฉายแสงหายได้เร็วขึ้นด้วย
คุณสมบัติล้างสารพิษของคลอโรฟิลล์ โดยมีผลจากการศึกษาในมนุษย์คาดว่า สารสีเขียวนี้อาจช่วยลดการได้รับสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งสารพิษจากเชื้อราชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็ง ดังนั้น การได้รับสารพิษน้อยลงก็อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้
นอกจากคุณสมบัติในข้างต้นแล้ว คลอโรฟิลล์และสารคลอโรฟิลลินอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ เช่น ลดน้ำหนัก เร่งการสมานแผล ช่วยสร้างเม็ดเลือด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สรรพคุณของคลอโรฟิลล์จำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันถึงประโยชน์ ความปลอดภัย และข้อเท็จจริงอื่น ๆ เนื่องจากการศึกษาแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกันในหลายด้าน ทั้งรูปแบบของสารที่ใช้ ลักษณะการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลา การเจ็บป่วย ไปจนถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลลัพธ์แตกต่างไปในแต่ละคน
ทุกครั้งที่รับประทานอาหารนอกจากจะต้องคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือ เรื่องของความสะอาดและความปลอดภัย เพราะกว่าอาหารจะมาถึงมือผู้บริโภคนั้นต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การผลิตตลอดจนวิธีการเก็บดูแลรักษาอาหารก่อนจะมาถึงมือผู้บริโภค ซึ่งกระบวนการทั้งหลายเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเสี่ยงของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ทั้งสิ้น